top of page

ถามตอบ

Q&A

อาชีพในสายงาน
        องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดว่า ประชากร 6,000 คนจะต้องมีนักทัศนมาตร อย่างน้อย 1 คน ประเทศไทย มีประชากร 65 ล้านคน จึงควรมีนักทัศนมาตรไม่ต่ำกว่า 10,000 คน แต่ปัจจุบันมีนักทัศนมาตรที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพไม่ถึง 100 คน รวมทั้งพระราชกฤษฎีกาที่กำลังจะออกประกาศให้ร้านที่วัดสายตาและประกอบแว่น เลนส์สัมผัส รวมทั้งเครื่องช่วยการมองเห็นต้องมีนักทัศนมาตรประจำ ทำให้มีความต้องการนักทัศนมาตรอีกเป็นจำนวนมากทั้งในภาครัฐและเอกชนแบ่งเป็น
        1. นักทัศนมาตรในระบบราชการ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐ
        2. นักทัศนมาตรในโรงพยาบาล หรือคลินิกเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับสายตา
        3. โรงงานอุตสาหกรรมเลนส์สายตาและเลนส์สัมผัส
        4. อาจารย์ผู้สอนในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
        5. นักทัศนมาตรด้านแรงงานและการกิฬา

รูปแต่ง website_๑๙๐๑๒๙_0003.jpg
22722.jpg

ถาม-ตอบ
Q: จบหลักสูตร 4 ปี และถ้าไม่เรียนต่อหลักสูตร 6 ปี จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง?
A: ข้อดี คือ การจบพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สามารถไปศึกษาต่อได้ในหลักสูตร แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ หรือเภสัชศาสตร์ได้ นักศึกษาวิทยาศาสตร์สายตาของมหาวิทยาลัยรังสิต บางคนก็ไปศึกษาต่อปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น ประสาทวิทยา เพราะมีพื้นฐานจากการเรียนประสาทวิทยาทางตา ไปศึกษาต่อในหลักสูตรบริหารองค์กร บริหารธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อเสีย คือ ไม่สามารถเป็นนักทัศนมาตรที่มีใบประกอบอาชีพได้ แม้ว่าในขณะนี้กฤษฎีกาไม่ได้ ออกมาบังคับว่า ร้านแว่นตาต้องมีนักทัศนมาตรที่มีใบประกอบอาชีพประจำร้าน การดำเนินการขณะนี้อยู่ในระหว่างร่างพระราชกฤษฎีกาซึ่งจะออกและจะออกมาในไม่ช้า และแนวโน้มของ AEC มีวิชาชีพต่างๆเคลื่อนย้ายได้โดยอิสระและประการสุดท้าย คือ จะไม่สามารถศึกษาต่อทัศนมาตรขั้นสูง หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทัศนมาตรเฉพาะทาง เช่น ทัศนมาตรในเด็ก ในวัยทำงาน และวัยสูงอายุรวมทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการฝึกกล้ามเนื้อตาได้ ซึ่งปัจจุบันมีหลักสูตรต่อเนื่องในต่างประเทศหลายหลักสูตรมาก

Q: อยากทราบว่ามีคนไทยที่มีปัญหาสายตามากน้อยเท่าใด?

A: จากการสำรวจระดับชาติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2550 พบว่ามีคนไทยมีปัญหาสายตาแต่ ยังไม่มีแว่นตาใส่ถึง 15 ล้านคน เพราะปัจจุนี้มีประชากร มีความต้องการสายตาที่คมชัดขึ้น กว่าเดิมมาก การใช้งานคอมพิวเตร์ หรือการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุที่ต้องยืดอายุการทำงาน ออกไปมิได้หยุดอยูที่ อายุ 60 ปี เหมือนเดิม หรือต้องพึ่งตนเองมากขึ้นและร่วมดูแลหลานๆ ทำให้ ต้องการสายตาที่คมชัดขึ้น ต้องใช้สายตามากขึ้น รวมทั้งเด็กในปัจจุบันก็มีสายตาสั้นมากกว่าเด็กในอดีต

Q: เรียนทัศนมาตรศาสตร์และจะตกงานหรือไม่?

A: ไม่ตกงานแน่นอน เพราะร้านแว่นในประเทศไทยมี 6,000-8,000 ร้าน แต่มีนักทัศนมาตรที่มีใบประกอบวิชาชีพในประเทศไทยมีเพียง 88 คนเลือก ร้านที่ผู้ให้บริการเป็นนักทัศนมาตรที่มีใบประกอบอาชีพ

Q: เรียนทัศนมาตรออกไปแล้ว ทำอะไรได้บ้างนอกจากไปวัดแว่นตามร้านขายแว่น?

A: เป็นความเข้าใจผิดมากที่เข้าใจว่านักทัศนมาตรสามารถวัดสายตาได้เพียงอย่างเดียว เพราะในหลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิต ได้กำหนดให้นักทัศนมาตร สามารถช่วยคิดกรองโรคตาบางอย่างได้ สามารถตรวจกล้ามเนื้อตา ฝึกกล้ามเนื้อตา ตรวจสายตาในงานเวชศาสตร์การกีฬา และทัศนมาตรแรงงาน รวมทั้งร่วมงานกับจักษุแพทย์ในโรงพยาบาล ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียนองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและปัจจุบันบัณฑิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิตได้ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐ ในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์สายตา 13 คน และในโรงพยาบาลเอกชน 9 คน รวมทั้งเป็นอาจารย์ทัศนมาตรในมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยรังสิต จึงสรุปได้ว่างานทัศนมาตรศาสตร์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการวัดสายตาและตัดแว่นตาเท่านั้น

bottom of page